ข้อมูลปี พ.ศ. 2563 โดยสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ชุมชนบ้านหนองทราย หมู่ 1 ต.หนองยาว อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
บริบทพื้นที่ (ประชากร / เนื้อที่ / สภาพเศรษฐกิจ / ภูมิประเทศ)
พื้นที่ทั้งหมด 1,200 ไร่
อาณาเขต
ทิศเหนือ – ติดต่อ หมู่ 2 บ้านหนองปาตอง ตำบลหนองยาว
ทิศใต้ – ติดต่อ หมู่ 5 บ้านแล้ง ตำบลหนองยาว
ทิศตะวันออก – ติดต่อ หมู่ 4 บ้านอ่าวสีเสียด ตำบลหนองยาว
ทิศตะวันตก – ติดต่อ หมู่ 9 บ้านต้นตาล ตำบลหนองยาว
ภูมิประเทศ – สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม
การคมนาคม – มีถนนลาดยางจากอำเภอพนมสารคาม 1 เส้นทาง แยกเข้าหมู่บ้าน 3 เส้นทาง
ถนนวนรอบหมู่บ้าน 1 เส้นทาง
ประชากร จำนวนครัวเรือน 197 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 552 คน แยกเป็น ชาย 242 คน หญิง 310 คน
จุดเด่นพื้นที่ ศักยภาพ พื้นที่ ความหลากหลายทางชีวภาพ
หมู่ที่ 1 ชื่อหมู่บ้านหนองทราย ที่มาของชื่อหมู่บ้านหนองทราย เนื่องจากสมัยก่อนสภาพภูมิประเทศของหมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่ม และใจกลางหมู่บ้านมีลักษณะคล้ายอ่างกระทะ ในฤดูฝนเมื่อฝนตกลงมาน้ำจะไหลมารวมกันที่บริเวณหนองน้ำและได้พัดพาเอาดินทรายมาทับถมกันจนกลายเป็นหนองทราย ซึ่งชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงยามจำเป็นที่จะใช้ดินทราย ก็จะมาขนเอาดินทรายที่บริเวณนี้ ชาวบ้านจึงเรียกขานว่า “หนองทราย” มาจนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านหนองทรายนี้เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ 100 กว่าปีแล้ว กลุ่มคนที่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านหนองทรายมีด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่งนำโดยนายพั้ว ยะหัตตะ ที่อพยพมาจากบ้านนาเหล่าบก ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เหตุที่อพยพมาจากหมู่บ้านเดิมเพราะประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงมีความต้องการที่ดินในการทำมาหากินเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้ นายพั้ว ยะหัตตะ มาจับจองที่ทำกินบริเวณหมู่บ้านหนองทราย และตั้งหลักฐานอยู่ในเขตหมู่บ้านหนองทราย กลุ่มที่สองนำโดยนายบุญธรรม วงศ์ยะครึ้ม และพวกพ้องอีกประมาณ 8 ครัวเรือน ได้อพยพมาจากอำเภอกันทรรักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เหตุที่อพยพมาจากหมู่บ้านเดิมนั้นเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล สภาพความเป็นอยู่อย่างอดอยาก การทำมาหากินที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สภาพภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านหนองทรายก่อนที่จะมีการตั้งหมู่บ้านนั้น สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นท้องทุ่งหญ้าและหนองน้ำ แต่ในบางส่วนของพื้นที่ก็เป็นป่าละเมาะ มีหนองน้ำบริเวณกลางใจเมืองของหมู่บ้านซึ่งมีพื้นที่คล้ายอ่างกระทะ ในอดีตนั้นหมู่บ้านหนองทรายมีหนองน้ำทั้งหมด 3 แห่ง คือ หนองทราย หนองตาปั่ง และหนองข่า ซึ่งในปัจจุบันนี้หมู่บ้านหนองทรายเหลือหนองน้ำธรรมชาติเพียงแห่งเดียวคือ หนองข่า เหตุที่หนองทราย และหนองตาปั่ง หมดสภาพความเป็นหนองน้ำไป เพราะเกิดจากการตื้นเขินของดินและทรายที่ไหลมาทับถมกัน จนราษฎรปรับสภาพหนองน้ำที่ตื้นเขินเป็นที่ทำนาและที่ปลูกผักมาจนถึงปัจจุบัน
เครื่องมือประวัติศาสตร์ผ่านเส้นเวลา (Timeline)

ปี พ.ศ. | เหตุการณ์สำคัญ |
---|---|
2413 | ชีวิตความเป็นอยู่ – เริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน – การเดินทางต้องเดินเท้าหรือเกวียน – มีการช่วยเหลือกันในด้านต่างๆ โครงสร้างพื้นฐาน – ไม่มีไฟฟ้า ต้องใช้ตะเกียงเพื่อให้แสงสว่าง – ไม่มีน้ำประปาต้องใช้น้ำบ่อ น้ำฝน – ธรรมชาติสมบูรณ์ การประกอบอาชีพ – อาชีพหลัก คือทำนาปลูกข้าวไว้กินกันเอง |
2524 | ชีวิตความเป็นอยู่ – การเดินทางใช้จักรยาน โครงสร้างพื้นฐาน – ถนนลูกรัง – เริ่มมีไฟฟ้า ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ การประกอบอาชีพ – อาชีพหลักทำนา, ปลูกผักบุ้ง – เริ่มมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว, ควาย, เป็ด, ไก่, หมู |
2538 | ชีวิตความเป็นอยู่ – การขับขี่สะดวกขึ้น โครงสร้างพื้นฐาน – มีถนนลาดยาง – มีน้ำประปาเข้ามา การประกอบอาชีพ – ปลูกผักขาย โดยมีผักบุ้งเป็นหลัก – ปลูกข้าวขาย – มีโรงงานโลงศพก่อตั้งขึ้น ด้านสุขภาพอนามัย – โรงงานโลงศพส่งกลิ่นทินเนอร์รบกวนชาวบ้าน |
2554 – ปัจจุบัน | ชีวิตความเป็นอยู่ – มีน้ำท่วมนา ทำให้ชาวบ้านทำนาไม่ได้และทำให้ชาวบ้านขาดรายได้ – ภัยแล้ง ชาวบ้าน ขาดน้ำ ทำนา ปลูกผัก – ชาวบ้านช่วยกันทำเรื่องขอบ่อบาดาล – เวลาหมู่บ้านมีกิจกรรมขอสนับสนุนจากโรงงานได้ การประกอบอาชีพ – โรงงานลูกชิ้น – โรงงานหล่อพระ – ปลูกต้นหอม ผักชี คะน้า ผักบุ้ง – เพาะเห็ดขาย – วิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษ |
ข้อมูลทุนชุมชน 5 ด้าน ของชุมชน ที่นำไปสู่ภาพอนาคตที่อยากเห็น

ทุน | รายละเอียด |
---|---|
1. ทุนทางสังคม | ปราชญ์หรือผู้มีความรู้ความสามารถ • นายวิรัฐ โปร่งจิต – ผักปลอดสารพิษ • นายปรานอม ไทยเจริญ – ผัดปลอดสารพิษ และปุ๋ยหมัก • อาจารย์พิสิทธ์ เกษตรวิราศรี – สินค้าแปรรูปจากวัตถุดิบในชุมชน • ยายทองพูล โอสถานนท์ – ปลูกใบเตยขายส่ง • คุณลุงยินดี เจริญศรี – ครูฝึกการทำสมาธิ • ลุงปรีชา เนระมูศรี – ทำโลงศพ กลุ่ม/องค์กร • ออมทรัพย์ ปี 2539 มีสมาชิก 80 คน • กองทุนหมู่บ้าน ปี 2539 มีสมาชิก 95 คน สถานที่ • ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ 1 |
2. ทุนวัฒนธรรม/ความรู้ | • ทำบุญกลางบ้าน เดือน 6 • ทำบุญวันพระ หมู่ 4 และหมู่ 6 • ทำนาปรัง เดือน 7 และเดือน 8 • ภาษาที่พูดคือ ภาษาพวน (ภาษากลาง) • นับถือ ศาสนาพุทธ • Clean on Mother’s Day |
3. ทุนเศรษฐกิจ | สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น • วัว • ไก่ • กะหล่ำปลี • เห็ดนางฟ้า • พริก • ใบเตย • โรงงานลูกชิ้นเนื้อ ทรัพยากรธรรมชาติ • ผักบุ้ง |
4. ทุนสัญลักษณ์ | • ปลูกผักบุ้ง • ทำโรงงานลูกชิ้นเนื้อ • คลองหนองข่า (ใช้วันลอยกระทง) |
5. ทุนประสบการณ์ | • ยายทองพูล โอสถนนท์–ปลูกใบเตย • ลุงยินดี เจริญศรี –ครูสมาธิ สอนนักเรียน รด. ชั้นปีที่ 1 – 3 • ลุงนิมิตร ณรงค์ –การปลูกเห็ดและสร้างรายได้ด้วยตัวเอง โดยการส่งต่อความรู้ |
ภาพในอนาคต | เด็กและเยาวชน • อยากให้เด็กๆ ปลูกผัก สวนครัวเอาไว้กินเอง • อยากให้เด็กได้ฝึกสมาธิ • อยากให้เด็ก ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ • อยากให้เด็กมีอนาคตที่ดี และมีวิสัยทัศน์ที่ดี ด้านสุขภาวะ • อยากให้ทุกคนในชุมชน มีสุขภาพแข็งแรง ด้วยการรับประทานผักปลอดสารพิษที่ปลูกเอง ด้านสังคมความเป็นอยู่ • เกิดความสามัคคีกัน • รับฟังปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น กับชุมชนนี้ • มีส่วนรวมและให้ความสำคัญในการทำกิจกรรมร่วมกัน |
ปฏิทินวัฒนธรรม และการผลิต

เดือน | ประเพณี/วัฒนธรรม | อาชีพ |
---|---|---|
มกราคม | – วันรวมญาติ – วันเด็ก – วันปีใหม่ | – โรงงานลูกชิ้น – ปลูกผัก |
กุมภาพันธ์ | – วันมาฆบูชา – วันตรุษจีน | – โรงงานลูกชิ้น – ปลูกผัก |
มีนาคม | – | – โรงงานลูกชิ้น – เก็บผลไม้ |
เมษายน | – วันสงกรานต์ | – โรงงานลูกชิ้น – เก็บผลไม้ |
พฤษภาคม | – วันวิสาขบูชา | – โรงงานลูกชิ้น – นาปรัง |
มิถุนายน | – ทำบุญกลางบ้าน | – โรงงานลูกชิ้น – นาปรัง |
กรกฎาคม | – วันอาสาฬหบูชา – วันเข้าพรรษา | – โรงงานลูกชิ้น – นาปรัง |
สิงหาคม | – วันแม่ | – โรงงานลูกชิ้น – นาปรัง |
กันยายน | – | – โรงงานลูกชิ้น – นาปรัง |
ตุลาคม | – | – โรงงานลูกชิ้น – นาปรัง |
พฤศจิกายน | – วันลอยกระทง | – โรงงานลูกชิ้น – นาปรัง |
ธันวาคม | – วันพ่อ – วันเฉลิมฉลองต้อนรับปีใหม่ | – โรงงานลูกชิ้น – นาปรัง |
แผนที่ภายนอกชุมชน

แผนที่ภายในตำบลหนองยาว

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัดเวทีประชาคม แบ่งเป็น 5 ประเด็น ดังนี้
1. การทำงานร่วมกัน
1.1 การมีความสามัคคีกันในหมู่คณะ
1.2 การให้ความร่วมมือระหว่างชาวบ้านกับผู้ที่มาให้ความรู้
2. ทักษะในการทำงาน
2.1 การตั้งคำถาม ข้อสงสัยและการออกความคิดเห็น
2.2 ได้ประสบการณ์ใหม่ๆเพิ่ม
2.3 ทำให้พวกเราได้เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าสังคมและทักษะในด้านต่างๆ
3. อาชีพของชาวบ้าน
3.1 ได้เรียนรู้อาชีพของชาวบ้านและความเป็นอยู่
3.2 ได้เข้าใจการใช้ชีวิตของชาวบ้านแต่ละบ้าน
4. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
4.1 ได้รู้ประวัติของหมู่บ้าน
4.2 ได้รู้ถึงวัฒนธรรมและประเพณีของหมู่บ้าน
5. ความรู้สึกในการทำกิจกรรม
5.1 ทำให้พวกเราทุกคนรู้สึกภูมิใจกับการที่เราได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาชุมชน
สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ ก็คือ การได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน รวมถึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และการเรียนรู้วิถีชุมชนของหมู่บ้านทำให้เห็นว่า หมู่บ้านมีการพัฒนาทีละเล็กทีละน้อย และมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมในปัจจุบัน ได้เรียนรู้การทำงานเป็นteam workทำงานได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้ใช้ความสามารถต่างๆ ในการทำงานร่วมกับชาวบ้าน อาจจะมีข้อผิดพลาดแต่พวกเราก็จะนำมาเป็นประสบการณ์ เพื่อพัฒนาตนเองในการทำงานในครั้งต่อๆไป
อัลบั้มภาพกิจกรรม















