ข้อมูลปี พ.ศ. 2563 โดยสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ชุมชนบ้านหนองยาว หมู่ 1 ต.หนองยาว อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

บริบทพื้นที่ (ประชากร / เนื้อที่ / สภาพเศรษฐกิจ / ภูมิประเทศ)

     ตำบลหนองยาว เดิมทีเป็นตำบลที่มีหนองน้ำหลายแห่ง และมีน้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถหาปู ปลา ได้ตลอดทั้งปี และพื้นที่หนองน้ำมีเนื้อที่ยาวมาก ชาวบ้านจึงเรียกขานว่า “ตำบลหนองยาว” มาจนถึงปัจจุบันนี้ ตำบลหนองยาว ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอพนมสารคาม ห่างจากตัวอำเภอพนมสารคาม ประมาณ 4 กิโลเมตร มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วน ดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว ทำนา ทำไร่ ปลูกผัก ฯลฯ จึงทำให้บ้านเรือนของชาวบ้านแทบทุกหลังจะมีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้ สำหรับรับประทาน และนำไปขายเพื่อหารายได้ มีลำน้ำ ลำห้วย ลำคลองเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีแหล่งน้ำที่ถูกสร้างขึ้น เช่น คลองชลประทาน ประปาหมู่บ้าน ฝาย ถังเก็บน้ำฝน ฯลฯ ในสมัยก่อนนั้น การเดินทางไม่สะดวกสบายมากนัก เนื่องจากถนนมีลักษณะเป็นดินลูกรัง การประกอบอาชีพยังไม่มีความหลากหลาย อาชีพหลักส่วนใหญ่ของชาวบ้าน คือ ทำนา ทำไร่ และปลูกผัก
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลท่าถ่าน ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา

จุดเด่นพื้นที่ ศักยภาพ พื้นที่ ความหลากหลายทางชีวภาพ

     การเปลี่ยนแปลงของตำบลหนองยาวได้มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงปี 2550 เนื่องจากมีการสร้างถนนลาดยางแอลฟัลท์ และถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก มีการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรม หอกระจายข่าว และเสียงตามสายหมู่บ้าน ชาวบ้านในชุมชนเริ่มหันมาเลี้ยงสัตว์มากขึ้น และถึงแม้ในตำบลหนองยาวจะไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในตำบล เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ ทำให้การประกอบอาชีพต่าง ๆ เริ่มมีความหลากหลาย มีการรับจ้างเพิ่มมากขึ้น มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องในวิถีชีวิต ทำให้การสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นน้อยลงตามไปด้วย จากที่กล่าวมา ทำให้เห็นว่าตำบลหนองยาวเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคนในชุมชนควรหาวิธีสร้างความตระหนักในเรื่องของภูมิปัญญาต่าง ๆ ภายในหมู่บ้านเพื่อไม่ให้วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และสิ่งดี ๆ ที่มีภายในชุมชนเลือนหายไป
     ผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนเริ่มมีการปรับตัว เพื่อให้สอดคล้องกับบริบท และยังช่วยกันสืบทอดภูมิปัญญา วิถีชีวิตที่มีกันมาตั้งแต่ในอดีต โดยได้มีการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนผักแปลงใหญ่ มีการทำสินค้า OTOP จากกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี และยังมีสินค้า OTOP อื่นๆ อีกด้วย เมื่อชาวบ้านเริ่มให้ความสนใจ ชุมชนจึงได้มีการทดลองทำปุ๋ยหมัก พัฒนาชุมชนให้เป็นที่รู้จักโดยส่งออกสินค้า OTOP ไปในหลาย ๆ จังหวัด มีการปลูกผักปลอดสารพิษ เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง และเมล่อน โดยมีวิทยากรมาให้ความรู้ คำแนะนำ เพื่อให้ชาวบ้านได้ฝึกการพัฒนาฝีมือ พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง จึงช่วยให้ชุมชนมีการพัฒนาไปในทางที่ดีมากขึ้น เป็นที่รู้จักของหลาย ๆ จังหวัด

เครื่องมือประวัติศาสตร์ผ่านเส้นเวลา (Timeline)

ข้อมูลทุนชุมชน 5 ด้าน ของชุมชน ที่นำไปสู่ภาพอนาคตที่อยากเห็น

ทุนรายละเอียดภาพอนาคต
ทุนทางสังคมผู้รู้ในชุมชน
– คุณสุชาติ อินทศร ผู้รู้เกี่ยวกับการปลูกผักสลัดอินทรีย์และการทาปุ๋ยหมักชีวภาพ
– กำนัน คเชน บุญประเสริฐ ผู้รู้เกี่ยวกับการทำบ่อดินลูกรังและการทำบ่อเลี้ยงกุ้ง
– คุณประนอม ไทยเจริญ ผู้รู้เกี่ยวกับการปลูกผักอินทรีย์และเป็นประธานวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผักแปลงใหญ่ปลอดภัยสูง
– คุณพิสิษฐ์ พนมพานิชย์กุล เป็นผู้จำหน่ายผักปลอดภัยสูง
– คุณพิสิษฐ์ เกษมวิราศรี เป็นรู้เกี่ยวกับการปลูกเมล่อนและเป็นโฆษกและพิธีกร
หน่วยงานในชุมชน
– องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา นายก อบต. ชื่อ นายสุนันท์ บุญประเสริฐ มีหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้าน
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแล้ง และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านต้นนา
– ศาลาประชาคม ได้แก่ ศาลาประชาคมบ้านหนองปลาตอง ศาลาประชาคมบ้านหนองทราย และศาลาประชาคมบ้านต้นตาล
กลุ่มและองค์กรในชุมชน
– กลุ่มสตรีหมู่บ้าน
– กลุ่ม อสม.
– กลุ่มเงินออมธนาคารออมสิน
– OTOP (ร่วมกับตำบลบ้านสร้าง)
– วิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผักแปลงใหญ่ปลอดภัยสูง
– อยากได้บ่อกักเก็บน้ำ
ทุนความรู้ประเพณี
– ประเพณีลอยกระทง
– ประเพณีสงกรานต์
– ประเพณีทาบุญวันเข้าพรรษา
– ประเพณีทาบุญวันออกพรรษา
– ประเพณีบุญข้าวหลาม
– ประเพณีวันไหล
– ประเพณีกวนกระยาสารท
– การสักการะศาลปู่ตา
– เทศกาลกินเจ
ภูมิปัญญา
– การเก็บเมล็ดพันธุ์พืช
– การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ
– การปลูกผักอินทรีย์
– การดองมะม่วง
– การกวนมะม่วง
– การแช่อิ่มมะม่วง
– การทำน้ำพริกเผา
– การทำน้ำพริกแกง
– การทำน้ำพริกแกงส้ม
– การทำไข่เค็มใบเตย
– การทำสมุนไพรไล่แมลง
สถานที่สำคัญ
– วัดแหลมไผ่ศรี
– วัดหนองปลาตอง
– วัดบ้านแล้ง
– วัดใหม่อ่าวสีเสียด
– วัดนาเหล่าบก
– วัดหนองยาว
– โรงเรียนแหลมไผ่ศรี
– โรงเรียนนาเหล่าบก
– โรงเรียนหนองปลาตอง
– โรงเรียนพนมอดุลย์วิทยา
– อยากให้มีหนังสือ
ที่ทันสมัยสู่ชุมชนมากขึ้น
ทุนประสบการณ์– การปลูกมะม่วง
– การปลูกเมล่อน
– การทำนา
– การปลูกผักอินทรีย์
– การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
– การทำปลาร้า
– การทำไข่เค็ม
– การทำผัก/ผลไม้ดอง
– การทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกะลา
– โครงการ โคก หนอง นา Model
– โครงการประปาหมู่บ้าน
– มีการสอนการทำสิ่งประดิษฐ์จากหมู่บ้านเพื่อสร้างรายได้
ทุนอัตลักษณ์– วิสาหกิจฯ
– คำขวัญตำบลหนองยาว
ทุนเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยว
– บ่อดินและบ่อตกกุ้ง
– ตลาดนัดชุมชนบ้านแหลมไผ่ศรี
– วัดต่างๆในชุมชน
กลุ่มอาชีพหลัก
– ทำนาปี
– ทำนาปรัง
– ทำสวนมะม่วง
– ทำสวนเมล่อน
– เลี้ยงไก่เล้า (ไก่เนื้อ)
กลุ่มอาชีพเสริม
– การทำไอศกรีมเมล่อน
– บ่อตกกุ้ง
– บ่อดิน
– ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกะลา
– การทำปลาร้า
– การทำไข่เค็ม
– การทำผักดอง
– การทามะม่วงดอง
– การปลูกผักอินทรีย์
– อยากให้สินค้า OTOPส่งออกต่างประเทศ

ปฏิทินฤดูกาลการผลิตของชุมชนที่นำไปสู่ภาพอนาคตที่อยากเห็น

แผนที่ภายนอกชุมชน

แผนที่ภายในตำบลหนองยาว

ภาพกิจกรรม

แผนที่ Google Map