ข้อมูลปี พ.ศ. 2563 โดยสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ชุมชนบ้านลาดน้ำเค็ม หมู่ที่ 3 ตำบลก้อนแก้ว อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

บริบทพื้นที่ (ประชากร / เนื้อที่ / สภาพเศรษฐกิจ / ภูมิประเทศ)
     ตำบลก้อนแก้ว บริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า “ก้อนแก้ว” คือ บริเวณด้านทิศตะวันตกของวัดก้อนแก้วในปัจจุบัน ในส่วนที่เป็นบ่อกุ้งของนายทวี จันกลัด ซึ่งเป็นอ่างใหญ่ลักษณะกลมเป็นท้องกระทะเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เส้นกว่า ลึกประมาณ 3 เมตร ฤดูน้ำมีน้ำเต็มอ่าง มีปลาชุกชุม ฤดูแล้งน้ำไม่แห้ง ส่วนของก้นแก้วบางคนเรียกว่า “วังก้นแก้วพิกุลทอง” ด้วยเป็นวังใหญ่และส่วนที่ลึกที่สุดเหมือนกับก้นแก้ว ประมาณปี พ.ศ. 2544 พระครูนันทศรีราจารย์ (หลวงพ่อเหลือ) ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดฉะเชิงเทรา สมัยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสาวชะโงก แต่ด้วยพื้นเพของท่านเป็นคนก้อนแก้ว ด้วยเห็นว่าเป็นถิ่นกำเนิดกับเป็นตำบลใหม่ ท่านจึงชักชวนชาวบ้านใกล้วังก้นแก้ว และเห็นว่าชื่อก้นแก้วฟังดูไม่เป็นมงคล จึงตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดก้อนแก้ว” และเป็นชื่อของหมู่บ้านและตำบลในเวลาต่อมาทิศเหนือ ติดกับ ต.บางโรง กิ่งอ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทราทิศใต้ ติดกับ ต.บางเล่า กิ่ง อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทราทิศตะวันออก ติดกับ ต.บางตลาด กิ่งอ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา ทิศตะวันตก ติดกับ ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

จุดเด่นพื้นที่ ศักยภาพ พื้นที่ ความหลากหลายทางชีวภาพ

     

     สำหรับ หมู่ที่ 3 บ้านลาดน้ำเค็ม สาเหตุที่เรียกว่า บ้านน้ำเค็ม เพราะว่า เมื่อสมัยก่อนพื้นที่บริเวณแห่งนี้ยังไม่มีเขื่อนทดน้ำ จึงทำให้น้ำเค็มจากทะเลได้ไหลย้อนเข้าสู่พื้นที่ของชุมชนในช่วงเวลาที่น้ำขึ้น พอถึงช่วงระยะเวลาน้ำลง น้ำเค็มก็ได้ไหลออกจากพื้นที่ ประกอบกับหมู่บ้านนี้เป็นบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม จึงทำให้มีพื้นที่ของหมู่บ้านบางส่วนมีน้ำเค็มขังอยู่ในพื้นที่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า ลาดน้ำเค็ม
     การเปลี่ยนแปลงของบ้านลาดน้ำเค็ม มีการเข้ามาอาศัยในชุมชนในแต่ละปีมากขึ้น ทำให้เกิดที่อยู่อาศัยมากขึ้น ต่อมาในชุมชนเกิดการทำอาชีพเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมและการทำนาปลูกข้าว ในชุมชนเริ่มมีความเจริญ มีสถานการศึกษาและมีแหล่งปฏิบัติธรรมที่ชุมชนร่วมใจสร้างขึ้นมา มีถนนหนทางที่ดีขึ้น การติดต่อสื่อสารสะดวกยิ่งขึ้น การศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างมากขึ้น คนในชุมชนมีความสะดวกสบายมากขึ้น แต่ด้านน้ำประปาในชุมชนพึ่งได้รับการพัฒนาเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมานี่เอง แต่ในชุมชนก็เคยประสบปัญหาภาวะภัยแล้งทำให้คนในชุมชนเกิดความเดือดร้อน แต่ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาพอสมควรทำให้คนในชุมชนมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมากแต่ก็ยังไม่ดีมากที่ควร
     ผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทำให้วิถีของคนในชุมชนเริ่มมีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทจากเดิมที่ปลูกบ้านตามแนวแม่น้ำลำคลอง แต่ในปัจจุบันมีถนนที่เทปูนผ่านทำให้ปลูกบ้านตามแนวถนนมากขึ้น การสัญจรเริ่มดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาสินค้าในท้องถิ่น คือ ไข่เค็ม ที่มีสูตรของที่นี่เองทำให้เกิดการพัฒนาสินค้าในชุมชนและในชุมชนยังมีการปลูกผลไม้ขายอาทิเช่น มะพร้าว มะม่วง เพราะพื้นที่ในชุมชนนี้เหมาะแก่การเพาะปลูกและส่วนใหญ่คนในชุมชนจะมีอาชีพการทำเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่

เครื่องมือประวัติศาสตร์ผ่านเส้นเวลา (Timeline)

ปี พ.ศ.เหตุการณ์สำคัญ
2500ชีวิตความเป็นอยู่
– เกิดน้ำท่วมใหญ่ในหมู่บ้านที่หมู่ 3 ตำบลก้อนแก้ว อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสาเหตุที่ทำให้คนในหมู่บ้านเกิดความเสียหาย ในด้านการเกษตร และประมง
2526การประกอบอาชีพ
– มีอาชีพทำนา เกษตร และประมง มีการใช้แรงงานจากควาย ฐานะปานกลาง
ชีวิตความเป็นอยู่
– เกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งแต่ครั้งนี้เมื่อน้ำลดลงได้มีการทำทด และถนนให้ดีขึ้น
2530โครงสร้างพื้นฐาน
– เริ่มมีสายไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้ ทำให้มีเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เข้ามา เช่น หม้อหุงข้าว พาหนะ รถไถ
การประกอบอาชีพ
– มีการขายไก่บ้าน
– มีพิธีทำขวัญข้าว โดยมีการเตรียม ธง อ้อย เครื่องเซ่นไหว้ ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ถั่วงา เผือกมัน ของที่ทำให้อุดมสมบูรณ์
2546การประกอบอาชีพ
– มีการกู้สหกรณ์เพื่อไปลงทุนทางการเกษตร ทำนา เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง
– มีหนี้นอกระบบ
2554ชีวิตความเป็นอยู่
– เกิดน้ำท่วมอีกครั้งแต่ไม่มาก
– มีการจัดงานวันเด็กที่โรงเรียนก้อนแก้วราษฏร์บำรุง
2557ชีวิตความเป็นอยู่
– เกิดการปฏิวัติราคาข้าวตกต่ำ
– เกษตรกรย่ำแย่
– ขายไร่ ขายนา
– ออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน
ด้านสุขภาพอนามัย
– สุขภาพเสีย ชาวบ้านเครียด เพราะรายได้น้อย รายจ่ายเยอะ
2558การประกอบอาชีพ
– ทำสินค้าโอทอปในกลุ่มแม่บ้าน
– มีการทำไข่เค็ม
– ทำน้ำยาล้างจาน
– ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
– ทำผ้าบาติก
2560ชีวิตความเป็นอยู่
– ปลูกต้นไม้เพื่อไว้อาลัย รัชกาลที่ 9
– ทำความสะอาดหมู่บ้านเพื่อพ่อ
การประกอบอาชีพ
– มีการทำแหนม ร้านกาแฟ และร้านสเต็ก
โครงสร้างพื้นฐาน
– เริ่มมีประปาเข้ามาในหมู่บ้าน
2562ชีวิตความเป็นอยู่
– มีการประเมินผู้ใหญ่บ้าน
ด้านสุขภาพอนามัย
– รณรงค์ยาเสพติดของ อสม.
การประกอบอาชีพ
– ทำใบตองขาย ทำประกวดอื่นๆ
– เลี้ยงหนูเจ๊ง
– ขายไก่ ผลัดกันขายแลกกันตรุษจีนของทุกปี
โครงสร้างพื้นฐาน
– โครงการซ่อมบ้าน รัชกาลที่ 9 ในหมู่บ้านมี 3 หลัง เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2563ด้านสุขภาพอนามัย
– มีการลงพื้นที่กำจัดยุงลาย
– มีการตรวจสุขภาพ
ชีวิตความเป็นอยู่
– ภัยแล้ง(มีการเก็บน้ำไว้ใช้)
– ทำบุญทอดกฐิน ทอดผ้าป่า

ข้อมูลทุนชุมชน 5 ด้าน ของชุมชน ที่นำไปสู่ภาพอนาคตที่อยากเห็น

ทุนรายละเอียด
1. ทุนทางสังคม– โรงเรียนก้อนแก้ว ราษฏร์บำรุง
– อสม. ก้อนแก้ว ชื่อ จีรวรรณ นิลมณี
– ศูนย์ปฏิบัติธรรมสมบูรณ์ธรรม
– ลุงดำ สุภาพ นิลมณี (เจ้าหน้าที่ อบต. ก้อนแก้ว)
– ผู้ใหญ่บ้าน นายธิวา
– ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ลุงเต้ย
– อดีตผู้ใหญ่บ้าน นายปรีชา จิตอำไพ (สเนาะ)
– อนามัยก้อนแก้ว
– ทุนเงินล้าน
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก้อนแก้ว
– อบต. ก้อนแก้ว
– อปพร. ช่วยดูแลความเรียบร้อย
– ทางโรงเรียนให้ทุนการศึกษา
– ให้ทุนเรียนดี
2. ทุนวัฒนธรรม– การเลือกตั้ง
– จัดงานวันเด็ก
– รดน้ำผู้สูงอายุ
– งานวันขึ้นปีใหม่
– งานผ้าป่า
– การทำบุญ
– งานกีฬาสี
– กินเลี้ยงปีใหม่
– งานประจำปีวัดก้อนแก้ว
– เวียนเทียน
– ใส่บาตรตอนเช้า
3. ทุนเศรษฐกิจ– ทำใบตองขาย
– ทำนา
– ปลูกตะไตร้
– ปลูกข่า
– เลี้ยงกุ้ง
– เลี้ยงปลา
– ทำน้ำยาล้างจาน
– ทำไข่เค็ม
– ขายไก่บ้าน
– สวนมะพร้าว
– ร้านส้มตำ
– เก็บผักบุ้งขาย
– ร้านกาแฟ
– ทำใบตอง
– ทำบาติก
4. ทุนสัญลักษณ์– วัดก้อนแก้ว
– ความสามัคคีในชุมชน
– การถือแรงทำนาหรือช่วยงานกัน
5. ทุนประสบการณ์– ขาดรายได้ ขาดทุน
– เลี้ยงหนูเจ้ง
– เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา
– เพลี้ยลง
– ถนนไม่ดี
– ปลูกธงไล่นกหุ่นนิ่ง
– ฉีดยาฆ่าเพลี้ย
– กำจัดวัชพืชในคลอง
– น้ำแห้งน้ำน้อย
– รองน้ำเก็บไว้ใช้
– ทีวีคุณภาพไม่ดี
– ตรวจสุขภาพ
– มีหนี้นอกระบบ
– ไม่มีรถขยะเข้ามาให้หมู่บ้าน
– ฉีดยุงหมู่บ้าน
– โรคเบาหวาน

ปฏิทินประเพณีและการเก็บเกี่ยวผลผลิต

เดือนประเพณี/วัฒนธรรมอาชีพ
มกราคม– ปีใหม่
– วันเด็ก
– ตรุษจีน
– ปลูกข้าว
– ขายไก่ (ตรุษจีน)
กุมภาพันธ์– วันวาเลนไทน์
– วันมาฆบูชา
– งานประจำปีวัดก้อนแก้ว
– เกี่ยวข้าว
มีนาคม– งานกีฬาสีหมู่บ้าน
เมษายน– วันสงกรานต์
พฤษภาคม– วันพืชมงคล
– วันวิสาฆบูชา
– ไถนา เตรียมดิน เพื่อเตรียมปลูกข้าว (รอบแรก)
มิถุนายน– วันต่อต้านยาเสพติด
– วันเฉลิมพระชนพรรษาราชินี
– ปลูกข้าว
กรกฎาคม– วันเฉลิมพระชนพรรษาในหลวงรัชกาลที่ 10
– แห่เทียนเข้าพรรษา
– วันอาสาฬหบูชา
– ปลูกข้าว
สิงหาคม– วันแม่แห่งชาติ– เกี่ยวข้าว(ปลายสิงหา/ต้นกันยา)
กันยายน– ไถนา เตรียมดิน เพื่อปลูกข้าว (รอบสอง)
ตุลาคม– วันที่ 13 วันสวรรคตของรัชกาลที่ 9
– วันปิยะมหาราช
– ปลูกข้าว
พฤศจิกายน– วันลอยกระทง
– ทอดกฐิน
– ปลูกข้าว
ธันวาคม– วันรัฐธรรมนูญ
– วันคริสต์มาส
– วันที่ระลึกถึงรักาลที่ 9
– วันส่งท้ายปี
– ปลูกข้าว

แผนที่ภายนอกชุมชน

     สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ ก็คือ การได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน รวมถึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และการเรียนรู้วิถีชุมชนของหมู่บ้านทำให้เห็นว่า หมู่บ้านมีการพัฒนาทีละเล็กทีละน้อย และมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมในปัจจุบัน ได้เรียนรู้การทำงานเป็นteam workทำงานได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้ใช้ความสามารถต่างๆ ในการทำงานร่วมกับชาวบ้าน อาจจะมีข้อผิดพลาดแต่พวกเราก็จะนำมาเป็นประสบการณ์ เพื่อพัฒนาตนเองในการทำงานในครั้งต่อๆไป

อัลบั้มภาพกิจกรรม

แผนที่ Google Map