ข้อมูลปี พ.ศ. 2563 โดยสาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ชุมชนบ้านวังควาย หมู่ที่ 5 ต.คลองเขื่อน อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา
บริบทพื้นที่ (ประชากร / เนื้อที่ / สภาพเศรษฐกิจ / ภูมิประเทศ)
ประชากร 3,650 คน เนื้อที่ 35.12 ตร.กม.อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน อาชีพเสริม เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา
พื้นที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำบางปะกงซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ มีคลองส่งน้ำเล็กๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่ขุดโดยหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำไปใช้ในการอุปโภคและการเกษตร
จุดเด่นพื้นที่ ศักยภาพ พื้นที่ ความหลากหลายทางชีวภาพ
หมู่บ้านวังควาย ตำบลคลองเขื่อนมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนที่มากับน้ำ มีแม่น้ำบางปะกงไหลผ่าน มีคลองน้ำกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ คือ คลองตะเพลิน คลองเทวารุท และคลองโปร่งแรด อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับหมู่ที่ 2, หมู่ที่ 4 ตำบลบางโรง ทิศใต้ติดต่อ หมู่ที่ 4 ตำยลคลองเขื่อน ทิศตะวันออกจรด หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 4 ตำบลคลองเขื่อน ทิศตะวันตกจรดหมู่ที่ 1 ตำบลก้อนแก้ว สภาพที่ดินเป็นหนองน้ำใหญ่ประมาน 10 ไร่ หน้าแล้งจะมีฝูงควาย และวัวของชาวบ้านใกล้เคียง มานอนแช่น้ำพักกินน้ำ (แถบนี้เลี้ยงวัวเป็นส่วนใหญ่เลี้ยงควายเป็นส่วนน้อย) คนลาวสมัยก่อนจะต้อนควายมาขายโดยใช้หนองน้ำเป็นจุดพักควยเสมอ หนองน้ำนี้ค่อนข้างลึกจึงใช้น้ำทำนาไม่ได้ มีกกเหลี่ยมและบัวขึ้นอยู่มากมาย ต่อมาตื้นเขินจึงทำนา ปัจจุบันปรับพื้นที่เป็นที่ตั้งของวัดเทวารุทธาราม และบ่อเลี้ยงกุ้งของนายบุญ ดังนั้นที่เรียกวังควาย ก็เพราะเป็นจุดพักควายนั้นเอง
การเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้านวังควาย ตำบลคลองเขื่อนมีการเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากในช่วงปี 2550 มีการก่อตั้งเป็นอำเภอคลองเขื่อน ก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน/เกษตรอินทรีย์ ทำให้มีการเข้ามาดูแลจากหน่วยงานต่างๆมากขึ้น ประชาชนได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ คนในชุมชนมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น และในปี 2560 ได้รับรางวัลเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข กายาสารทได้รับเป็นสินค้า OTOP ได้รับรางวัลชนะเลิศจากกองทุนแม่ของแผ่นดิน ทำใประชาชนมีรายได้มากขึ้น ชุมชนได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น คนในหมู่บ้านมีอาชีพมากขึ้น
ผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คนในชุมชนมีความกระตือรือร้นตื่นตัว ในการช่วยกันพัฒนาชุมชนมากขึ้น เนื่องจากแต่เดิมไฟฟ้าและน้ำพึ่งมีการเข้าถึงในปี พ.ศ.2562 ทำให้ชุมชนมีไฟฟ้าไว้ใช้มากขึ้น การเกษตรมีการพัฒนามากขึ้นแต่เดิมชุมชนมีการเลี้ยงกุ้ง มีแม่น้ำบางปะกงที่ไหนผ่านใช้แม่น้ำในการดำรงชีวิตประจำวัน
เครื่องมือประวัติศาสตร์ผ่านเส้นเวลา (Timeline)


ปี พ.ศ. | เหตุการณ์สำคัญ |
---|---|
2530 | ชีวิตความเป็นอยู่ – ไฟฟ้าเข้าเขตหมู่บ้านวังควายมีไฟฟ้าใช้งานทำให้สะดวกสบายมากขึ้น แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย – ยังไม่มีน้ำประปา ใช้น้ำจาก คลอง/บ่อ |
2550 | การดูแล/การปกครอง – ก่อตั้งเป็นอำเภอคลองเขื่อน ได้มีการพัฒนาการปกครอง/การดูแลจากหน่วยงานมากขึ้น ประชาชนได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น – ก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน เกษตรอินทรีย์ |
2554 | ชีวิตความเป็นอยู่ – น้ำท่วมรอบนอกเขตหมู่บ้าน ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนมากนัก การประกอบอาชีพ – เกิดภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลง 40-50% รายได้ลดลง |
2560 | รางวัลหมู่บ้าน – ได้รับรางวัลเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข – ได้เป็นสินค้า OTOP (กระยาสารท) – ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากกองทุนแม่บ้านแผ่นดิน เรื่องการจัดการชุมชนที่ดี |
2562 | ชีวิตความเป็นอยู่ – น้ำประปาเข้าเขตหมู่บ้าน (บางครัวเรือน) มีปัญหาเกิดจากน้ำไหลอ่อนถึงไม่ไหลในบางครั้ง บางครัวเรือนยังต้องใช้น้ำจากคลอง/บ่ออยู่ – เกิดโรงสีข้าวชุมชน |
2563 | ชีวิตความเป็นอยู่ – เกิดภาวะแล้ง ส่งผลทำให้ทำการเกษตรไม่ได้ เนื่องจากแล้งหนักกว่าทุกปี – ผลผลิตการเกษตรตกต่ำลง ปริมาณ คุณภาพ ลดลงส่งผลทำให้ราคาต่ำ – ต้องหาน้ำสำรองโดยหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือแต่ต้องจัดทำบ่อน้ำสำรองโดยการหาพื้นที่สาธารณะขุดบ่อ และอีกทางคือให้ชาวบ้านในชุมชนขุดบ่อเองในพื้นที่ส่วนตัวและช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เช้า ไม่สามารถขุดเองได้ – ไฟ้ไหม้ สาเหตุเกิดจาก ไฟฟ้ารัดวงจร |
ข้อมูลทุนชุมชน 5 ด้าน ของชุมชน ที่นำไปสู่ภาพอนาคตที่อยากเห็น

ทุน | รายละเอียด |
---|---|
ทุนทางสังคม | ตัวคน – เกษตรอำเภอ – ผู้ใหญ่บ้าน – กำนัน หน่วยงาน – พัฒนาชุมชน – ธกส. – อสน. – อสม. – ปศุสัตว์ – กองทุนหมู่บ้าน – พัฒนาสังคม – สหกรณ์การเกษตร – กองทุนแม่ของแผ่นดิน |
ทุนความรู้ | – ทำบุญส่งท้ายปีเก่า – วันเด็ก – กีฬาหมู่บ้าน – วันแม่ – ออกพรรษา – ประเพณีหัวไม้ – รดน้ำดำหัว – จักรสานสมัยก่อน – ถวายเทียนพรรษา – ความเชื่อต่างๆ – วันสารทไทย – สงกรานต์ – เย็บแห – แข่งรถอีแต๋น – ไหว้เจ้า – ตักบาตรเทโว – แข่งเรือ – ช่างเครื่องยนต์ – ความเชื่อร่างทรง – ประกวดกระทง |
ทุนประสบการณ์ | – รางวัลกีฬา – อบรมพัฒนา – ฝีมือแรงงาน – ภัยแล้ง – ท้องนาแห้งแล้ง – ไฟไหม้บ้าน – ไม่มีน้ำ |
ทุนอัตลักษณ์ | – ยกสาน,ตั้งสาน – ประกวดนางนพมาศ |
ทุนเศรษฐกิจ | – สวนกล้วยลุงสำเริง – เลี้ยงปลา – ผักปลอดสารพิษ – ศาลาประชาคม – กระยาสารท – ทำพวงหลีด – มะพร้าว – แปรรูปกล้วย – เลี้ยงกุ้ง – ทำสวน – ไก่ชน – โรงสีข้าว – ทำนา – บ้านพอเพียงต้นแบบ – กล้วย – มะม่วง – ศูนย์การเรียนรู้ผักปลอดสารพิษ – ตะไคร้ – สินค้า OTOP – ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง |
ปฏิทินและประเพณีของชุมชน

เดือน | ประเพณี | การประกอบอาชีพ | ปัญหาที่ได้รับ | แนวทางการแก้ไขปัญหา |
---|---|---|---|---|
มกราคม | – ขึ้นปีใหม่ – ตรุษจีน – วันเด็ก | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว | – น้ำแล้ง – ราคาถูก | – รอน้ำฝนตามฤดูกาล |
กุมภาพันธ์ | – | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว – เลี้ยงกุ้ง | – น้ำแล้ง – กุ้งเป็นโรค – กุ้งไม่โต – ขี้ขาว | – ใส่ยา – เปลี่ยนอาหาร – ถ่ายน้ำ – กรวดน้ำ – เชิญหมอมาตรวจบ่อ |
มีนาคม | – | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว – เลี้ยงกุ้ง | – | – |
เมษายน | – สงกรานต์ (รดน้ำดำหัว) | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว – เลี้ยงกุ้ง | – | – |
พฤษภาคม | – | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว – เลี้ยงกุ้ง – ทำนาข้าวไรซ์เบอรี่ | – น้ำขาดแคลน – เพลี้ย / หนอน – นกพิราบ / นกกะจาบ(กวนข้าว) | – ทำหุ่นไล่กา – น้ำ รอฝน |
มิถุนายน | – ทำบุญที่วัด | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว – ทำนาข้าวไรซ์เบอรี่ | – | – |
กรกฎาคม | – เข้าพรรษา – ถวายเทียน | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว – ทำนาข้าวไรซ์เบอรี่ – ทำกระยาสารท | – | – |
สิงหาคม | – ทำบุญวันแม่ | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว | – | – |
กันยายน | – สารทไทย | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว | – | – |
ตุลาคม | – ออกพรรษา – ตักบาตรเทโว | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว | – | – |
พฤศจิกายน | – วันลอยกระทง | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว | – | – |
ธันวาคม | – ทำบุญส่งท้ายปี – ทำบุญวันพ่อ | – ทำสวนมะม่วง – ทำสวนมะพร้าว | – | – |
แผนที่ภายนอกชุมชน

แผนที่ภายในชุมชน

ข้อมูลเพิ่มเติมของชุมชุน
อาชีพหลักของชุมชน
• ทำนา
• เลี้ยงกุ้ง
• ผักกางมุ้ง (ปลอดสารพิษ)
อาชีพเสริมของชุมชน
• ปลูกกล้วย/ตะไคร้
• ทำขนม
• มะพร้าว
เป็นอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้
ขั้นตอนในการปลูกข้าว
• ระยะเตรียมดินไร่ละ 180 บาท (เริ่มเดือนพฤษภาคม)
• ค่าน้ำมันรถตีเลน 3 ลิตร /1 ไร่ × 3 75 บาท
• เตรียมดิน ไร่ละ 100 บาท (ค่าแรง)
• พันธ์ข้าวปลูก ไร่ละ 25 กิโล ลูกละ 400 บาท
• ค่าแรงคนหว่าน ไร่ละ 70 บาท
• ฉีดยาคลุมวัชพืช ไร่ละ 70 บาท (ค่าแรง)
• ยาฉีด ขวดละ 400บาท (ไร่นึ่งใช้ไม่ถึงขวด/ไร่ละ 130)
• ค่าปุ๋ย ค่าแรงใช้ปุ๋ย ไร่ละ 70 ต่อไร่ (ครั้งที่ 125 กก./ไร่) สูตรปุ๋ยเปิดสูตร 16×20-0
• ฉีดยา 1 ขวด ฉีดได้ 10 ไร่ ขวดละ 400 บาท (ค่าแรง 70 บาท) 20 วันใส่ครั้งที่ 1 (315บาท)
• ใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 (อายุข้าว 45 วัน)
• ฉีดยา ครั้งที่ 2 (ทำแบบนี้ 3 ครั้ง)
• ฉีดยาครั้งที่ 3 ระยะข้าว 70 วัน
• ยาฆ่าแมลงสุดท้าย กันเชื้อรา ขวดละ 700 บาท ต่อ 10 ไร่
ขั้นเก็บเกี่ยว
• อายุข้าว 110 วัน (มาตรฐาน)
• ค่าเกี่ยว ไร่ละ 300 บาท
• ค่าน้ำมันรถเกี่ยว ไร่ละ 3 ลิตร 75 บาท
• ค่ารถบรรทุกข้าว (เกวียน ตันละ 150/ตัน)
• ค่าข้าวเมล็ดสวย ราคากลาง เกวียนละ 7000 บาท
• ได้กำไร แต่ปัญหากระทบคือ ค่าเช่าที่แพง
• ถ้าไม่มีโรคแมลงระบาดเกิดขึ้นต้องเพิ่มค่ายา
ภาพกิจกรรม















