ข้อมูลปี พ.ศ. 2563 โดยสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ชุมชนบ้านดงยาง หมู่ 3 ตำบลหนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
บริบทพื้นที่ (ประชากร / เนื้อที่ / สภาพเศรษฐกิจ / ภูมิประเทศ)
เนื้อที่ประมาณ 73 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 45,625 ไร่ ตำบลหนองแหน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีการทำการเกษตร ภายในหมู่บ้านมีต้นยางขึ้นมากมาย ชาวบ้านอพยพมาจากเขมร การเดินทางยังไม่ค่อยสะดวก เนื่องจากถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายมีการใช้สัตว์เป็นยานพาหนะ
จุดเด่นพื้นที่ ศักยภาพ พื้นที่ ความหลากหลายทางชีวภาพ
ในปีพ.ศ. 2525 ชุมชนตำบลหนองแหนมีการเปลี่ยนแปลง มีสาธารณูปโภค มีสิ่งอำนวยสะดวกให้กับหมู่บ้านมากขึ้น ในช่วงปีพ.ศ.2527-2530 ได้ประสบปัญหาน้ำท่วมนาข้าวของชาวบ้านทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก และคาดแคลนรายได้ ในปีพ.ศ.2533 มีการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมทำให้ชาวบ้านสามารถกลับมาทำนาทำให้มีรายได้ และมีน้ำประปาประจำหมู่บ้านที่ชาวบ้านช่วยกันสร้างขึ้นเพื่อใช้กันภายในหมู่บ้าน ต่อมาในปีพ.ศ.2560 มีน้ำประปาส่วนภูมิภาคทำให้ชาวบ้านมีน้ำสะอาดใช้งาน และช่วยส่งเสริมสุขอานามัย จากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่าชุมชนตำบลหนองแหนเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ทำให้คนภายในหมู่บ้านมีวิถีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น คนในชุมชนหาวิถีการแก้ปัญหากันและตระหนักรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต
จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชน เริ่มมีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับบริบท เนื่องจากหมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่มเหมาะกับการทำเกษตรคนในหมู่บ้านจึงทำนาเป็นอาชีพหลักจนถึงปัจจุบัน เมื่อเกิดปัญหาอุทกภัยชาวบ้านแก้ปัญหาด้วยการสร้างเขื่อนชะลอน้ำ และระบายน้ำออกจากนาข้าวนอกจากนี้เริ่มมีสาธารณูปโภคเข้ามาในหมู่บ้านทำให้หมู่บ้านมีน้ำประปา มีไฟฟ้าใช้งาน มีถนนหนทางเข้าถึงมากขึ้น ปัจจุบันบริเวณรอบรอบหมู่บ้านเกิดนิคมอุตสาหกรรมจึงทำให้ชาวบ้านออกไปหารายได้นอกหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น คนในหมู่บ้านได้มีอาชีพเสริมเกิดขึ้น เช่น พรมเช็ดเท้า, ถักหมวกจากไม้ไผ่ เป็นต้น
เครื่องมือประวัติศาสตร์ผ่านเส้นเวลา (Timeline)

ปี พ.ศ. | เหตุการณ์สำคัญ |
---|---|
2450 – 2460 | ชีวิตความเป็นอยู่ – ได้มีการเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ภายในหมู่บ้านยังไม่มีสาธารณูปโภคเข้าถึงภายในหมู่บ้าน การประกอบอาชีพ – อาชีพหลักของชาวบ้านภายในหมู่บ้านในช่วงนี้ คือ การปลูกข้าวเพื่อกินอยู่หรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน |
2518 – 2520 | ชีวิตความเป็นอยู่ – มีการตัดต้นยางเพื่อนำพื้นที่ส่วนนั้นและไม้ของต้นยางมาสร้างเป็นโรงเรือนและวัด การประกอบอาชีพ – เริ่มมีการทำนาข้าวเพื่อขายข้าว |
2525 | โครงสร้างพื้นฐาน – เริ่มมีไฟฟ้าเข้ามาใช้ภายในหมู่บ้าน ทำให้มีเครื่องไฟฟ้าต่างๆ เข้ามาเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น มีไฟส่องสว่างแทนตะเกียง พัดลม รถไถ พาหนะ ฯลฯ |
2527 – 2530 | ชีวิตความเป็นอยู่ – มีเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ทำเกษตรกรของชาวนา ทำให้ข้าวหรือพืชไร่เกิดความเสียหาย – ทำให้ชาวบ้านบางส่วนขาดรายได้จากการทำนาข้าว จึงออกไปทำงานนอกพื้นที่กันแพร่หลาย |
2533 | ชีวิตความเป็นอยู่ – เริ่มมีการสร้างเขื่อน เพื่อป้องกันน้ำท่วมฉับพลัน |
2544 | การประกอบอาชีพ – ยุคของนายกฯ ทักษิณ เข้ามา ราคาข้าวเกวียนละ 12,000 บาท มีการทำนาปี ละ 2 ครั้ง มีการสูบน้ำและการใช้เครื่องจักร เช่น รถเกี่ยวข้าวแทนการลงแขก – เริ่มมีการซื้อพาหนะมากขึ้น เช่น รถไถ รถยนต์ |
2555 | การประกอบอาชีพ – ชาวบ้านมีการทำอาชีพเสริม คือ ถักหมวกจากใบไม้และไหมพรม |
2560 | ชีวิตความเป็นอยู่ – เริ่มมีการประปาส่วนภูมิภาคเข้ามาในหมู่บ้าน |
2562 – 2563 | ชีวิตความเป็นอยู่ – เกิดภัยแล้งขึ้น ภายในหมู่บ้าน ส่งผลให้ขาดแคลนน้ำในการทำนาข้าว ทำให้ชาวบ้านออกไปทำงานนอกพื้นที่เพิ่มมากขึ้น |
ข้อมูลทุนชุมชน 5 ด้าน ของชุมชน ที่นำไปสู่ภาพอนาคตที่อยากเห็น

ทุน | รายละเอียด |
---|---|
1. ทุนทางสังคม | ตัวคน • ผู้ใหญ่บ้าน เป็นศูนย์รวมของการกระจายข่าวสารข้อมูล • ป้าชำเลือง ให้ความรู้เรื่องการเย็บปัก ถักร้อย และการทำกระยาสารท • ป้าเตือน สอนทำบายศรีสู่ขวัญ • ป้าปุ๊ก ให้ความรู้เรื่องทำพรมเช็ดเท้า • ป้าเพ็ญ ให้ความรู้เรื่องการทำนา และการเลี้ยงเด็ก • ป้านุกุล ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลา • ผู้ช่วยแมน ผู้รู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชน กลุ่ม • อสม. แจ้งข่าวสารและดูแลเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม • สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ ของคนในชุมชน สถานที่ • วัดดงยาง • โรงเรียนชุมชนวัดดงยาง |
2. ทุนทางวัฒนธรรม | • การทำพรมเช็ดเท้า • การถักหมวก • จักสานตะกร้า • ประเพณีสารทไทย ไหว้บรรพบุรุษ • ประเพณีทอดกฐิน • ประเพณีสงกรานต์ อาบน้ำผู้สูงอายุ สรงน้ำพระ • ประเพณีลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง • ประเพณีทำบุญขึ้นปีใหม่ • ประเพณีทำบุญเข้าพรรษา แห่เทียนเข้าพรรษา • ประเพณีทำบุญออกพรรษา |
3. ทุนประสบการณ์ | • ก่อตั้งบ้านเรือน • เกิดพื้นที่แห้งแล้งและคลองแห้ง • เกิดน้ำท่วมหน้าวัด • การพูดในชุมชน • การให้ทุนข้าวปลูก • ประชุมการลดค่าไฟฟ้า • ประชุมการวางแผนเริ่มสร้างพระเจดีย์ • มีการสร้างเขื่อนที่ท่าตะเกียบ มีส่วนช่วยในการระบายน้ำ |
4. ทุนอัตลักษณ์ | • หม้อแกง • ข้าวเหนียวมะม่วง • เม็ดขนุน • ศาลยายเขียว • ซุ้มประตูวัด |
5. ทุนเศรษฐกิจ | • ทำนา • ทำปลาเค็ม • เลี้ยงไก่ไข่ • ทำดอกไม้มงคล • ร้านของชำ • โรงกลึง • ตลาดสด • ตำน้ำพริกขาย • ร้านกาแฟ • ดองดอกกลุ่มขาย • ขายหอยจุ๊บ • ซักผ้าหยอดเหรียญ • ทำกระยาสารท • ขายพวงมาลัย • ทำพวงกุญแจ |
ภาพในอนาคต | เด็กและเยาวชน • อยากให้เด็กและเยาวชนมีการศึกษาที่ดี มีหน้าที่การงานที่มั่นคง • อยากให้เด็กและเยาวชนเลิกยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด และการพนัน • อยากให้ชุมชนส่งเสริมเรื่องกีฬาให้กับเด็กและเยาวชน • อยากให้เพิ่มบุคคลากรในการให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน ด้านสุขภาวะ • อยากให้คนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง • อยากให้คนในชุมชนออกกำลังกายกันมากขึ้น • อยากให้มีอนามัยเข้ามาในชุมชน ด้านสังคมความเป็นอยู่ • มีรถรับส่งพนักงานเข้าถึงชุมชน • ได้รับประโยชน์จากภาครัฐสูงสุด • อยากให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น • อยากให้มีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหน้าวัด |
ปฏิทินฤดูกาลการผลิตของชุมชนที่นำไปสู่ภาพอนาคตที่อยากเห็น
- ทำกะลาขายตลอดปี
- ทำการเกษตร ปลูกผัก ตลอดปี
- ทำปลาร้าขายตลอดปี
- ทำน้ำพริกขายตลอด


แผนที่ภายนอกชุมชน

แผนที่ภายในชุมชน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัดเวทีประชาคม แบ่งเป็น 5 ประเด็น ดังนี้
1. การทำงานร่วมกัน
1.1 การมีความสามัคคีกันในหมู่คณะ
1.2 การให้ความร่วมมือระหว่างชาวบ้านกับผู้ที่มาให้ความรู้
2. ทักษะในการทำงาน
2.1 การตั้งคำถาม ข้อสงสัยและการออกความคิดเห็น
2.2 ได้ประสบการณ์ใหม่ๆเพิ่ม
2.3 ทำให้พวกเราได้เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าสังคมและทักษะในด้านต่างๆ
3. อาชีพของชาวบ้าน
3.1 ได้เรียนรู้อาชีพของชาวบ้านและความเป็นอยู่
3.2 ได้เข้าใจการใช้ชีวิตของชาวบ้านแต่ละบ้าน
4. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
4.1 ได้รู้ประวัติของหมู่บ้าน
4.2 ได้รู้ถึงวัฒนธรรมและประเพณีของหมู่บ้าน
5. ความรู้สึกในการทำกิจกรรม
5.1 ทำให้พวกเราทุกคนรู้สึกภูมิใจกับการที่เราได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาชุมชน
สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ ก็คือ การได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน รวมถึงได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และการเรียนรู้วิถีชุมชนของหมู่บ้านทำให้เห็นว่า หมู่บ้านมีการพัฒนาทีละเล็กทีละน้อย และมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมในปัจจุบัน ได้เรียนรู้การทำงานเป็นteam workทำงานได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ได้ใช้ความสามารถต่างๆ ในการทำงานร่วมกับชาวบ้าน อาจจะมีข้อผิดพลาดแต่พวกเราก็จะนำมาเป็นประสบการณ์ เพื่อพัฒนาตนเองในการทำงานในครั้งต่อๆไป
อัลบั้มภาพกิจกรรม











