ข้อมูลปี พ.ศ. 2563 โดยสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ชุมชนบ้านบ้านแล้ง หมู่ 5 ต.หนองยาว อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
บริบทพื้นที่ (ประชากร / เนื้อที่ / สภาพเศรษฐกิจ / ภูมิประเทศ)
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยาว ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 95 หมู่ที่ 5 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอพนมสารคาม ห่างจากตัวอำเภอพนมสารคาม ประมาณ 4 กิโลเมตร มีอาณาเขต ติดกับพื้นที่ตำบลต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ – ติดตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศใต้ – ติดตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันออก – ติดตำบลท่าถ่าน ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศตะวันตก – ติดตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา
มีอาณาเขตการปกครอง พื้นที่ประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ประมาณ 43,750 ไร่
ลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด และปลูกผัก ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัว และรับจ้าง และเป็นที่อยู่อาศัย จำนวน 12 หมู่บ้าน ประชากรทั้งสิ้น ณ ปี พ.ศ. 2561 ในเขตพื้นที่จำนวน 3,090 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 9,155 คน แยกเป็นชาย 4,401 คน หญิง 4,754 คน จำนวน 9,674 คน
จุดเด่นพื้นที่ ศักยภาพ พื้นที่ ความหลากหลายทางชีวภาพ
อบต.หนองยาว มีการส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรม เช่น มีการจัดพิธีทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ ประเพณีวันเข้าพรรษา ประเพณีวันออกพรรษา ตักบาตรเทโว มีการจัดงานวันสงกรานต์รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุสรงน้ำพระโดย เน้นวัฒนธรรมไทยที่สุภาพเรียบร้อย สวยงาม มีการจัดโครงการธรรมะกับเยาวชน เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนได้สัมผัสและเรียนรู้ธรรมะอย่างใกล้ชิด ฝึกจิตใจให้มีความอดทน มีสติ
ข้อมูลด้านการเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด และปลูกผัก
ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
เครื่องมือประวัติศาสตร์ผ่านเส้นเวลา (Timeline)

ปี พ.ศ. | เหตุการณ์สำคัญ |
---|---|
2560 | ชีวิตความเป็นอยู่ – ข้าวดีแต่เก็บเกี่ยวไม่ได้ – น้ำท่วม/น้ำแล้ง – ถนนชำรุด การประกอบอาชีพ – มีรายได้จากการทำปุ๋ยชีวภาพ หน่วยงานจากภาครัฐเข้ามาให้การสนับสนุน – ชุมชนหมู่ 5 ตำบลหนองยาว ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาจากภาครัฐ แต่เงินที่ได้รับจากรัฐบาลไม่คุ้มค่ากับการทำนา |
2561 | ชีวิตความเป็นอยู่ – น้ำประปาไม่ค่อยไหล – นาแล้ง เนื่องจากไม่มีน้ำใช้ – ขายข้าวไม่ได้ เนื่องจากฝนไม่ตก ทำให้ข้าวเติบโตได้ไม่เต็มที่ – เด็กแว๊นขี่รถเสียงดังรบกวนชาวบ้าน |
2562 | ชีวิตความเป็นอยู่ – น้ำที่ทำการเกษตรมีไม่เพียงพอ – น้ำแล้ง – เก็บเกี่ยวข้าวไม่ค่อยได้ – หนอนลงผัก – น้ำประปาไม่พอใช้ – ปัญหาจากฟาร์มหมูน้ำขี้หมูลงนา ด้านสุขภาพอนามัย – ปัญหาทางมลพิษ(ควันจากการเผาขยะ) – ปัญหาจากฟาร์มหมูน้ำขี้หมูลงนา การประกอบอาชีพ – การจับกลุ่มร่วมกันเพื่อสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก |
2563 | ชีวิตความเป็นอยู่ – น้ำบาดาลหมดบ่อ – ติดหนี้ ธกส. – ขายสินค้า OTOP ไม่ได้เลยเลิกขาย – น้ำประปาไม่ไหล และไม่พอใช้ – ผักมีราคาถูก – เกิดศัตรูพืช ทำให้เกิดการรักษาที่ยาก การประกอบอาชีพ – การปลูกพืชผัก ทำการเกษตร – การรวมกลุ่มสานตะกร้าด้วยเชือกปอ ที่มีต้นทุนแพง |
ข้อมูลทุนชุมชน 5 ด้าน ของชุมชน ที่นำไปสู่ภาพอนาคตที่อยากเห็น

ทุน | รายละเอียด | ภาพอนาคต |
---|---|---|
ทุนทางสังคม | – กองทุนช่วยเหลือหมู่บ้าน – ธนาคาร ธกส. – เศรษฐกิจพอเพียงเขาหินซ้อน – โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ – อบต. – แพทย์อาสา | – อยากได้บ่อกักเก็บน้ำ |
ทุนความรู้ | – ห้องสมุดชุมชน – ทอดผ้าป่า – สรงน้ำพระ – เทศน์มหาชาติ – ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง – สารทลาว – ตักบาตรตะบุง – แห่นางแมว – สงกรานต์ – กศน.หนองยาว – โรงเรียนเหล่าบก | – อยากให้มีหนังสือ ที่ทันสมัยสู่ชุมชนมากขึ้น |
ทุนประสบการณ์ | – นัดอบรมประจำปีของ อบต. – ประชาคมหมู่บ้าน – สอนทำเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว – มีการอบรมโครงการเกษตรของ ร.9 – โครงการธรรมะกับเยาวชน – โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประจำหมู่บ้านเพื่อความยั่งยืน | – มีการสอนการทำสิ่งประดิษฐ์จากหมู่บ้านเพื่อสร้างรายได้ |
ทุนอัตลักษณ์ | – คำขวัญประจำหมู่บ้าน – ต้นหอม ผักชี ตั้งโอ๋ คะน้า – น้ำพริกเผา พริกแกง – ปลาร้า – พระธาตุโพธิ์ชัย – ภาษาลาวพวน – ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว | |
ทุนเศรษฐกิจ | – สินค้า OTOP – ตลาดพนม – ร้านขายของชำ – โรงงานผลิตกะลา – ทำดอกไม้จันทน์ – ศูนย์เกษตร – ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรสาน | – อยากให้สินค้า OTOPส่งออกต่างประเทศ |
ปฏิทินฤดูกาลการผลิตของชุมชนที่นำไปสู่ภาพอนาคตที่อยากเห็น
- ทำกะลาขายตลอดปี
- ทำการเกษตร ปลูกผัก ตลอดปี
- ทำปลาร้าขายตลอดปี
- ทำน้ำพริกขายตลอด

เดือน | เทศกาล | อาชีพที่ทำทั้งปี | รายละเอียด |
---|---|---|---|
มกราคม | – ทำบุญใส่บาตรปีใหม่ – ตรุษจีน – วันพระ | – ทำสวนผัก | – ประกอบไปด้วย ต้นหอม ผักคะน้า มะเขือ มะละกอ (เป็นผักปลอดสาร)เก็บขายทุกวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพนี้ |
กุมภาพันธ์ | – งานบุญข้าวหลาม – วันเด็ก – วันพระ | – ทำงานบริษัท โรงงาน | – ทำทุกครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นรุ่นลูก คิดเป็น 60 % |
มีนาคม | – วันพระ | – ทำปุ๋ยชีวภาพ | – ทำกันเองในชุมชน |
เมษายน | – ลดน้ำดำหัวสงกราน – วันพระ – กาลเล่น (งานวัด) หมู่ 6 | – เลี้ยงหมูไก่ เป็ด ปลา | – ไก่ บริษัท CP มารับชาวบ้านทำแล้วรวย |
พฤษภาคม | – วันพระ – ประเพณีปู่ตา – ทำบุญกลางบ้าน – ทำบุญพระธาตุโพธิ์ชัย | – ทำนา | – เริ่ม พ.ค 3 เดือนเก็บเกี่ยวชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพนี้ – เริ่มช่วงเดือน 6 พฤหัสต้นเดือน |
มิถุนายน | – วันพระ | – ทำปลาร้า | – ปลาร้าเป็นตัว |
กรกฎาคม | – เข้าพรรษา – วันพระ | – ทำกะลาแปลรูป | – เป็นสินค้า OTOP |
สิงหาคม | – วันแม่ – วันพระ | – น้ำพริกเผา | |
กันยายน | – วันพระ | – ช่างไม้ | |
ตุลาคม | – ออกพรรษา – วันพระ | ||
พฤศจิกายน | – วันลอยกระทง – วันพระ | – ปลูกผัก ทำการเกษตร | – ปลูกผักช่วงหน้าหนาวจะได้ผลผลิตดีกว่า หน้าอื่นๆ |
ธันวาคม | – วันพ่อ – วันพระ |
แผนที่ภายนอกชุมชน
- ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลพนมสารคาม
- ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลดงน้อย
- ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลท่าถ่าน
- ทิศใต้ ตั้งแต่หมู่ที่ 5,6,7,8,9 ติดกับ ตำลบบ้านซ่อง โดยจะมี
ทุ่งนากั้นกลาง

แผนที่ภายในตำบลหนองยาว
- องค์การบริหารส่วนตำบล หนองยาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านแล้ง
- มีวัดอยู่ทั้งหมด 7 วัด ดังนี้
1.วัดบ้านแล้ง
2.วัดแหลมไผ่ศรี
3.วัดหนองปลาตอง
4.วัดอ่าวศรีเสียด
5.วัดหนองยาว
6.วัดนาเหล่าบก
7.วัดต้นตาล - มีโรงเรียนทั้งหมด 4 แห่ง ดังนี้
1.โรงเรียนวัดหนองปลาตอง
2.โรงเรียนวัดต้นตาล
3.โรงเรียนวัดนาเหล่าบก
4.โรงเรียนวัดไผ่แหล่มศรี - มีสถานีอนามัยอยู่ 2 แห่ง ดังนี้
1.สถานีอนามัยหนองยาว
2.สถานีอนามัยต้นตาล - มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ 1 แห่ง
- มีสำนักสงฆ์ 1 แห่ง

อัลบั้มภาพกิจกรรม















